วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 25 ธันวาคม 2555

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียน








วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 7

วันอังคาร ที่ 18 ธันวาคม 2555

หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระและอาจารย์ได้ให้ทำงานที่มอบหมายไว้ให้







วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 6

วันอังคาร ที่ 11  ธันวาคม 255


* ส่งแผนการจัดประสบการณ์หน่วยของตนเอง(หน่วยนาฬิกา)
* เอากล่องที่สั่งให้เอามาแล้วอ.ถามว่า
 เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร?
 อยากให้กล่องนี้เป็นอะไร?         
 ใช้ทำอะไร? 
    
       การที่จะถามเด็กนั้น เราควรใช้คำถามที่เด็กรู้สึกไม่กดกัน ไม่กลัวผิด ใช้คำถามที่เด็กได้คิด ได้ตอบตามจินตนาการของ แล้วเด็กก็จะมีความสุขในการตอบ ไม่รู้สึกกลัวว่าจะตอบผิด เด็กจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรู้มา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด 
* การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยนั้น ต้องสอนให้ถูกวิธีการเรียนรู้ ตามธรรมชาติของเด็ก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5



 


การต่อกล่อง
ครั้งที่ 1 
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน แล้วนำกล่องมาต่อ โดยไม่ปรึกษากัน  ให้ต่อตามจินตนาการของตนเอง แล้วจะได้ผลงานมา 1 ชิ้น หลังจากนั้นก็ถามที่ละคน ว่าตอนที่กำลังจะต่อกล่อง อยากให้เป็นอะไร ซึ่งคำตอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนต่อ 

ครั้งที่ 2 
* ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ต่อกล่องโดยปรึกษากัน ว่าจะต่อเป็นรูปอะไร การต่อกล่องแบบนี้ จะทำให้เด็กเกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการรอคอย และการต่อกล่องนี้ ยังช่วยเสริมประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการแยกประเภทของรูปทรงของกล่อง กานับกล่อง การวัด การจับคู่ เป็นต้น 

ครั้งที่ 3 
* ให้นักศึกษาทั้งห้อง เอาผลงานของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นงานชิ้นเดียว และให้นำกล่องหรืออุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่มาประกอบการสร้างชิ้นงาน การต่อกล่องแบบนี้ เป็นการเสริททักษะทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทของกล่อง การจับคู๋ การวัด รูปทรงและเนื้อที่ เป็นต้น

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 4 ธัวาคม 2555


อาจารย์ให้ออกไปนำนำเสนองานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว (ความเรียง)

หน่วยบ้าน
        วันนี้คุณครูจะมาสอนเด็กๆเรื่องบ้าน คุณครูจะนำภาพบ้านหลังใหญ่มา 1 หลัง ให้เด็กๆช่วยกันนับหน้าต่างของบ้านหลังนี้ว่ามีหน้าต่างทั้งหมดกี่บาน และเด็กๆเห็นบ้านเลขที่หลังนี้ไหมค่ะว่ามีตัวเลขอะไรบ้าง นอกจากตัวเลขแล้วเด็กๆ คิดว่าส่วนประกอบของบ้านมีรูปทรงอะไรบ้าง เมื่อคุณครูและเด็กร่วมกันพูดคุยเรื่องบ้านแล้ว คุณครูแบ่งเด็กเป็นกลุ่มละเท่าๆกัน โดยนำบัตรภาพรูปบ้านชนิดต่างๆมาให้เด็กแต่ละกลุ่ม คุณครูมีภาพบ้านอยู่ในตะกร้าและให้เด็กๆช่วยกันนำภาพตึกแถวออกมาวางบนโต๊ะและให้เด็กๆจับคู่ภาพตึกแถวที่มีสีเหมือนกัน จากนั้นคุณครูหยิบภาพบ้านที่อยู่ในตะกร้ามา 2 ภาพ ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันให้เด็กๆสังเกตว่าภาพบ้านหลังไหนมีขนาดเล็กกว่ากัน ต่อจากนั้นครูนำภาพบ้าน 2 หลังมาติดบนกระดานให้มีระยะห่างกันโดยให้เด็กวัดความยาวจากการใช้นิ้วมือว่ามีความยาวเท่าไร คุณครูมีกิจกรรมให้เด็กๆวาดภาพต่อเติมภาพบ้านที่หายไปตามจิตนาการของเด็กๆและระบายสีให้สวยงาม

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 27 พฤศจิกายน 2555

* อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละแผ่นและให้นักศึกษาเขียน Mind Map ในหน่วยของตนเอง
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอในหน่วยที่ตนเองได้รับมอบหมายและอาจารย์ก็ให้ข้อเสนอแนะในแต่ละกลุ่ม

หน่วยบ้าน
      * การนับ = บ้านหลังนี้มีหน้าต่างกี่บาน
      * ตัวเลข = บ้านหลังนี้มีบ้านเลขที่ 417
      * การจับคู่ = เด็กๆจับคู่บ้านตึกแถวที่มีสีเดียวกัน
      * การจัดประเภท = คุณครูมีภาพบ้านอยู่ในตะกร้า ให้เด็กๆนำภาพที่เป็นตึกแถวมาวางบนโต๊ะ
      * การเปรียบเทียบ = คุณครูมีภาพ 2 ภาพ ให้เด็กๆเปรียบเทียบระหว่างกับภาพที่ 1 กับภาพที่ 2 ภาพไหนเล็กกว่ากัน
      * การจัดลำดับ = ตอนเช้าฉันทำความสะอาดห้องน้ำ หลังจากนั้นตอนบ่ายฉันไปล้างจานในครัว
      * รูปทรงและเนื้อที่ = เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบของบ้ายมีอะไรบ้าง
      * การวัด = คุณครูมีภาพบ้าน 2 ภาพ วางห่างกัน ให้เด็กๆวัดระยะห่างของบ้านทั้ง 2 หลังโดยใช้นิ้ว
      * เซต = วันนี้จะมีแขกมาเยี่ยมห้องของเราคุณครูจะให้เด็กๆช่วยกันจัดชุดกาแฟ 2 ชุด
      * เศษส่วน = ฉันปลูกบ้านตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน คือ
ส่วนที่ 1 ปลูกผัก ส่วนที่ 2 เลี้ยงปลา ส่วนที่ 3 เลี้ยงวัว และส่วนที่ 4 ปลูกบ้าน- การทำตามแบบหรือลวดลาย = ให้เด็กๆวาดภาพต่อเติมบ้านที่หายไปให้สมบูรณ์
      * การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ => คุณครูแบ่งดินน้ำมันให้คนละก้อนเท่าๆกันโดยให้เด็กๆปั้นรูปบ้านตามจิตนาการของตนเอง







วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครังที่ 3

วันอังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน 2555

ความรู้ที่ได้รับ


เพลงโบเล โบลา

โบเล โบเล โบลา  โบเล โบเล โบลา
เด็กน้อยยื่นสองแขนมา
มือซ้าย ขวา ทำเป็นคลื่นทะเล
ปลาวาฬพ้นน้ำเป็นฝอย
ปลาเล็กปลาน้อยว่ายตาม
ปลาวาฬนับ  1   2   3
ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับตัว
*** ในเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีการนับ ตำแหน่ง

      การเขียนหน่วย
              1. ลักษณะ หรือประเภท ใช้เกณฑ์อะไรในการแยกประเภท
              2. หน่วย
                     - สิ่งมีชีวิต จะมีการขยายพันธุ์
                     - สิ่งไม่มีชีวิต จะมีวิธีการดูแลรักษา
              3. การตั้งหน่วย ต้องเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นประโยชน์กับตัวเด็กมากที่สุด


      ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
( นิตยา ประพฤติกิจ. 2541 : 17 -19 )
              1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย
              2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู้ในชีวิตประจำวัน
              3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ
              4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ
              5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า
              6. การจัดลำดับ เป็นการจัดสิ่งของเป็นชุดๆ หรือตามคำสั่ง หรือตามกฏ
              7. รูปทรงและเนื้อที่
              8. การวัด เป็นการให้เด็กรู้จักความยาว ระยะ การประมาณ
              9. เซต เป็นการสอนเรื่องของเซตอย่างง่ายๆ มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม
              10. เศษส่วน
              11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
              12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ ให้เด็กมีความคิดรวบยอด


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2555 

ความรู้ที่ได้รับ

          * ภาษา + คณิตศาสตร์ =  เครื่องมือในการซึมซับ  
          * การจัดเรียงลำดับ ต้องจัดเรียงเป็นแนวนอนเพราะภาษาของเราเขียนในแนวนอน ต้องนึกถึงความเป็นจริง ทำเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
          * นึกถึงหลักความเป็นจริง เน้นประสบการณ์ให้เด็ก        
          * การสอนคณิตศาสตร์ต้องสอนผ่านหน่วย
          * เด็กเรียนรู้ตามแบบอย่าง ต้องมีตัวแบบ การเลียนแบบ
          * จะทำอะไร หรือจะสร้างอะไร ก็ต้องมีหลักเกณฑ์
          
   เกมการศึกษา
          * Lotto = ศึกษารายละเอียดของภาพ
          * Domino = การต่อปลาย , ภาพต่อปลาย
          * เกมเรียงลำดับ  = ขั้นตอน , ก่อน - หลัง , เชื่่อมโยงอย่างต่อเนื่อง
          * จับคู่ ขนาด สี
          * สัมพันธ์ แกน
          * อนุกรม = ความต่อเนื่อง , เชื่อมโยง
          * อุปมา , อุปมัย =  กา - ดำ , สำลี - ขาว    

   ประเภทเกมการศึกษา
          * เกมกลางแจ้ง 
                      เกมเบ็ดเตล็ด =  เกมที่ไม่มีกติกามากมาย ไม่มีรูปแบบ
                      เกมแบบผลัด =  การเล่นทีละคน เป็นลำดับ ผลัดกันเล่น
          * เกมเสรี =  ครูต้องเตรียมอุปกวณ์ จำนวนความสะดวก ทำสื่อเอง

      

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 1


วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555 

ความรู้ที่ได้รับ


* อาจารย์ตั้งข้อตกลงในการเข้าเรียน 

* อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับบล็อค

* เขียนเกี่ยวกับการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ว่าควรรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง