วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สรุปวิจัย

การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์


ปริญญานิพนธ์ของ พิศเพลิน ภิรมย์ไกรภักดิ์

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

เพื่อศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายการใช้ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่มีผลต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ความสำคัญของการวิจัย

ผลจากการวิจัยในครั้งนี้เป็นแนวทางให้ครูปฐมวัยและผู้สนใจในแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์นำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงของตน และเป็นแนวทางให้ผู้บริหารได้ศึกษาเพื่อใช้แนะนำ ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยทำการวิจัย

ขอบเขตการวิจัย

1.ประชากร
                ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย  หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 32 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2541 ของโรงเรียนสานฝัน สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

2.กลุ่มตัวอย่าง
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย  หญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 10 คน ของโรงเรียนสานฝัน สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ใช้การเลือกห้องแบบเจาะจง และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลากจากนักเรียนในห้องที่เลือก.งมี 19 คน

3.ตัวแปรที่ศึกษา
                ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
                ตัวแปรตาม คือ ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

4.เวลาที่ใช้ในการวิจัย
                การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โดยทำการศึกษา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ4 วัน วันละ 30 นาที

5.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                5.1 แบบสังเกตการณ์ปฎิบัติการสอน
                5.2 แบบประเมินความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์

สรุปผล
                ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ทั้ง 4ประการ คือ ปฏิสัมพันธ์ ประสบการณ์เดิมการกระทำ และการไตร่ตรอง เมื่อใช้ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์แบ่งการใช้เป็น 3 ระยะ ส่งผลให้เด็กกลุ่มตัวอย่างเกิดความเข้าใจในการจัดประเภท การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การวัด และการอนุรักษ์

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 16

วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

อาจาย์พูดเรื่องเสื้อสูท ถึงข้อดีและข้อจำกัด
นัดสอบนอกตาราง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556
* วันที่ 2 มีนาคม มีกีฬาสีเอก
* วันที่ 3 มีนาคม มีปัจฉิม และ Byenior
* วันที่ 6-8 มีนาคม ไปดูงานที่ประเทศลาว
อาจาย์ให้เขียนว่า ได้ความรู้อะไร ได้ทักษะอะไร วิธีการสอนจากวิชานี้





บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 15

วันอังคาร ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

สอบสอนหน่วยอวัยวะภายนอก

ลักษณะอวัยวะร่างกายภายนอก

หน้าที่ของอวัยวะภายนอก
**ข้อเสนอแนะของอาจารย์
* เวลาสอนเด็กๆเมื่อจะถามคำถามเด็กควรให้เด็กยกมือตอบคำถาม
* เมื่อมีการเขียนกระดานควรมีภาพมีติดเพื่อให้เด็กได้เห็นภาพและตัวหนังสือไปพร้อมๆกัน
* เพลงที่จะร้องให้เด็เกี่ยวกับอวัยวะ คือ

 เพลง ตาดูหูฟัง
ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง
คุณครูท่านสอน ท่านสั่ง
เราตั้งใจฟัง เราตั้งใจดู
* เด็กๆบอกครูซิค่ะว่าอวัยวะภายนอกมีอะไรบ้าง
* นำบัตรภาพมาให้ดูและถามว่ามีชื่อเรียกว่าอะไร และอวัยวะที่เด็กๆเห็นเหมือนของเด็กๆหรือป่าวค่ะ
* เด็กลองดูซิค่ะว่าอวัยวะของเด็กๆมีลักษณะอย่างไรกันบ้างค่ะ




วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556


-สอบสอน กลุ่มที่ หน่วยกระดุม






ข้อเสนอแนะของอาจารย์
เรื่องชนิดของกระดุม
-ถ้ากระดุมเล็กให้ใช้ภาพตัดต่อได้
-ถ้านำเข้าสู่บทเรียนให้ร้องเพลงและส่งกระดุมไปเรื่อยๆเมื่อร้องเพลงให้เด็กหลับตาแล้วครูนำกระดุมไปวางที่ตรงหน้าเด็ก
-พอเด็กลืมตาก็จะเห็นกระดุม
-ใช้คำถามเด็ฏว่าเด็กๆรู้จักกระดุมอะไรบ้างเมื่แเด็กตอบให้เขียนบนกระดาน
-นำกระดุมใส่ขวดให้เด็กเขย่า(การคาดคะเน)
-ให้เด็กนับกระดุม
เรื่องลักษณะของกระดุุม
-เด็กลองบอกครูซิว่าภาพที่ติดอยู่บนกระดานภาพอะไร(เด็กตอบ  กระดุม)
-เด็กๆลองสำรวจดูซิค่ะว่าในตัวของเด็กๆมีกระดุมที่มีลักษณะอย่างไร
-ถ้าจะสอนเรื่องกระดุมที่เป็นโลหะกับอโลหะเราจะใช้แม่เหล็ก
-เราอยากให้เด็กเห็นภาษาก็เขียนเป็นตัวหนังสือ
-เขียนลงตาราง


 -ในเรื่องของขนาดควรเป็นภาพคน ที่เป็นกางปลาที่มีขนาดเล็กใหญ่ เช่น 
ขนาดเล็ก

ขนาดใหญ่

-ในการสรุปให้เป็นวงกลง 2 วงซ้อนกันและดูว่ามีอะไรที่มีลักษณะเหมือนกันก็ไว้ตรงกลางระหว่างวงกลม 2 วง ส่วนสิ่งที่แตกต่างกันก็ไว้ในวงกลมของแต่ละวง
-เพื่อให้เด็กได้เห็นภาพ
-ส่วนในเรื่องของประโยชน์ของกระดุมให้เสนอเป็นนิทาน

** หมายเหตุ ไม่ได้เข้าเรียน ลอกมาจาก นางสาวสิริรัตน์ วุฒิยานันท์

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 29 มกราคม 2556

* พูดคุยเรื่องกีฬาสีเอก บายเนียร์ และกิจกรรมอื่นๆ
* คัดเลือกการแสดงความสามารถของเอกปฐมวัยโดยมีการแสดงดังนี้ 

* รำ >>> สว่างจิตร 
* ร้องเพลง >>> รัตติยา
* โฆษณา >>> นิศาชล,ละมัย
* การแสดงลิบซิ้ง >>> จุฑามาศ, นีรชา
* เต้นประกอบเพลง >>> พลอยปภัส,เกตุวดี,มาลินี
* ละครใบ้ >>> อัจฉรา,จันทร์สุดา
* ตลก >>> ชวนชม, ดาราวรรณ
* ผู้กำกับหน้าม้า >>> พวงทอง,นฎา
* หน้าม้า >>> เพื่อนๆที่ไม่มีหน้าที่
* พูดคุยสนทนากันเรื่องการแสดง ว่าสอดคล้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร โดยแบ่งเป็นสาระของสสวท.

     
คุยงานการแสดงศึกษาศาสตร์ทาเลนต์ 



อาจารย์สรุปการแสดงว่าสอดคล้อง 
เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 22 มกราคม 2556

** ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องข้าว
วันที่ 2 ลักษณะของข้าว

เพื่อนกำลังสอบสอนเรื่อง หน่วย ข้าว (ลักษณะของข้าว)

วันที่ 4 การเก็บรักษา

เพื่อนกำลังสอบสอนเรื่อง หน่วย ข้าว (การเก็บรักษา)


** ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องกล้วย
วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ
-เด็ก ๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ 
-เด็ก ๆ ทราบหรือไม่ว่าในตระกล้ามีกล้วยอะไรบ้าง 
-ไหนลองบอกครูสิค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง 
-เห็นมั้ยค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง 
-ให้เด็ก ๆ หยิบกล้วยมาเรียงแล้วนับ
- กล้วยทั้งหมด 9 หวี  กล้วยหอม 4 หวี กล้วยน้ำละว้า 3 หวี กล้วยไข่ 2 หวี

วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
- ถามคำถามเพื่อทบทวนความรู้เด็กเมื่อวานนี้ว่า เด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ 
- ครูหยิบกล้วยออกมา 1 หวี ใช้ตัวเลขกำกับ 
- นำจานออกออกมาให้เด็กๆดูและถามเด็กว่าข้างในจานมีอะไรไหนเด็ก ๆ ลองทายดูสิค่ะ 
- เปิดโอกาศให้เด็กได้สัมผัสกล้วย 
- ให้เด็กชิมรสกล้วย
- ครูแบ่งครึ่งกล้วยออกครึ่งเรียกเด็ก 2 คน ออกมา ถ้าไม่พอ แบ่งออกเป็น 4 ถ้าไม่พอแบ่งออกมาเป็น 8 กล้วย 1 ผลเด็กชิมได้ 8 คน 
-สรุปตอนท้ายด้วย My map

วันที่ 3 ข้อควรระวัง
-สร้างเรื่อง พ่อไปตัดกล้วย ใช้สอนเรื่องตำแหน่ง ทิศทาง

วันที 4 การขยายพันธ์
-แบ่งกลุ่มใช้กระดาษตัดเป็นรูปมือ
-แต่ละแปลงห่างกัน 1 ฝ่ามือ 
-ปลูกเว้นละยะเพื่อที่จะขยายพันธ์ 
-แปลงใครขายพันธ์ต้นกล้วยได้มากที่สุด

อาจารย์ทำสื่อคณิตศาสตร์มาให้ดู
อาจารย์ให้ดูสื่อที่น้องปี 2 ทำ 
อาจารย์ให้ดูสื่อที่น้องปี 2 ทำ 

งานที่ได้รับมอบหมาย

- อ่านวิจัย 1 เรื่อง